วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ 26/01/2555 E-Learning Courseware บรรยายโดย ผศ.ดร.ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ

E-Learning Courseware
Courseware คือเอกสารประกอบการเรียนการสอนที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งในปัจจุบันนิยมทำในรูปของเอกสารเว็บ Courseware ที่ดีจะต้องได้รับการออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นบทเรียน แต่ละบทเรียนจะมีการกำหนดแนวคิดและวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน มีการนำเสนอเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน แหล่งวิทยาการที่เกี่ยวข้อง (resources) โดยเน้นที่องค์ความรู้จากห้องสมุดเสมือนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งสามารถจะเข้าถึงได้ทันที มีการทดสอบเพื่อประเมินว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในระดับใด มีการออกแบบให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเนื้อหาวิชา ผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน โดยใช้การสื่อสารผ่านเครือข่าย นอกจากนั้นแล้วการออกแบบ Courseware ที่ดีนั้นต้องใช้ความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในสิ่งที่การนำเสนอในรูปแบบที่เอกสารสิ่งพิมพ์ทำไม่ได้หรือทำได้ยาก
ตัวอย่าง
·         Class notes, scanned images, syllabi, textbooks, tutorials และ assignments ของผู้สอนที่นำเสนอด้วยเทคโนโลยี Internet/WWW.
·         สื่อในรูปแบบปฎิสัมพันธ์ที่เผยแพร่ทั้งในลักษณะเชิงพาณิชย์ และให้บริการดาวน์โหลด
·         บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่พัฒนาด้วย Authoring Tools เช่น HyperCard, PowerPoint, Macromedia Director, Toolbox, หรือ Authorware
·         บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่นำเสนอทั้งในรูปแบบออฟไลน์ (Offline) และออนไลน์ (Online) ด้วยผ่านกระบวนการบีบอัด (Compress) หรือการกระจายให้เป็นแฟ้มขนาดเล็กหลายแฟ้ม ด้วยโปรแกรมเฉพาะที่แต่ละบริษัทพัฒนา เพื่อให้สามารถแสดงผลผ่านเว็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องรอการส่งแฟ้มเป็นเวลานาน
·         หนังสือ/วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีลักษณะเป็นรูปเล่มและองค์ประกอบของเล่มหนังสืออย่างครบถ้วน นิยมจัดทำในฟอร์แมต Acrobat ด้วย Acrobat Writer และใช้โปรแกรม Acrobat Reader ในการอ่าน
·         เทปเสียงดิจิตอล/วีดิทัศน์ดิจิตอล ที่ใช้เทคโนโลยี Real/Audio หรืออื่นๆ ที่เหมาะสม ที่สามารถแสดงผลได้ด้วยเทคนิคการกระจายแฟ้ม เพื่อไม่ต้องรอการถ่ายโอนแฟ้มนาน

E-Learning Courseware
Multimedia
Hypermedia
Hypertext

Knowledge Types
-Factual Knowledge – รู้เรื่องจริง
-Conceptual Knowledge – สามารถคิด ทำได้ เพราะรู้มาแล้ว
-Procedural Knowledge -- ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นตอนในการทำงานของงานหนึ่งๆ
-Metacognitive Knowledge – ตระหนักรู้ว่ารุ้อะไร

Learning Object
Learning Object คือสื่อการเรียนรู้ดิจิตอล ที่ออกแบบเพื่อ ให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ โดยแต่ละเรื่อง จะนำเสนอแนวคิดหลักย่อยๆ ผู้สอนสามารถเลือกใช้ Learning Object ผสมผสานกับการจัดการเรียนการสอนแบบอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย

 มาตรฐาน SCORM ในอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning)
SCORM ย่อมาจาก Sharable Content Object Reference Model ซึ่งพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา (Department of Defense: DOD) และ White House Office of Science and Technology Policy (OSTP) โดยตั้งสถาบัน Advanced Distributed Learning: ADL ขึ้น ในปี 1997
                ข้อกำหนด มาตรฐาน SCORM ของ e-Learning มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
                1. มาตรฐาน SCORM ด้าน Content Package มาตรฐานนี้กำหนดให้รวมข้อมูลหรือ การ Package ข้อมูล อาทิ text, image, multimedia เข้าเป็นก้อน หรือเป็น unit เดียวกัน ซึ่งในมาตรฐานนี้จะช่วยปกป้องความถูกต้องของข้อมูล รักษาสิทธิส่วนบุคคล ปกป้องการเข้าใช้ข้อมูลจากผู้ไม่มีสิทธิ รวมถึงป้องกันการดัดแปลงและคัดลอกข้อมูลได้อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ เพราะข้อมูลนี้ถูกรวมไว้เป็นก้อนเดียวกัน
                2. มาตรฐาน SCORM ด้าน API (Application Program Interface) มาตรฐานนี้จะหมายถึงข้อกำหนดต่าง ๆ ของข้อมูล หลักสูตรต้องเหมือนกัน เพื่อให้ข้อมูลบทเรียนมีการส่งและการเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วและได้ง่ายเหมือนกัน
มาตรฐาน SCORM นั้นให้ความสำคัญกับการช่วยทำให้ระบบ plug and play ของเนื้อหา การเรียนรู้บนเว็บ (Web-based learning) สามารถใช้งานร่วมกันได้ ความสะดวกในการเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้ใหม่อีก จากการตั้งอยู่บนฐานของมาตรฐานเทคโนโลยีเป็นที่ยอมรับ ได้แก่ XML และ JavaScript ทำให้ SCORM กลายเป็นมาตรฐานเทคโนโลยีอีเลิร์นนิ่งที่ได้รับการยอมรับและถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายและรวดเร็ว อีกทั้งการได้รับการตอบรับ และสนับสนุนจากบริษัทชั้นนำของโลก มหาวิทยาลัยต่าง ๆ กลุ่มผู้ให้บริการระบบ และกลุ่มผู้ให้บริการเนื้อหา จากประโยชน์ของ SCORM นับว่ามาตรฐานอีเลิร์นนิ่งมีความจำเป็น และเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน เนื่องจากทำให้การใช้เทคโนโลยีมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดอัตราเสี่ยงในการลงทุน และยังทำให้ผู้เรียนมีความสะดวกสบายขึ้น ข้อกำหนด SCORM จึงถือเป็นมาตรฐานทางอีเลิร์นนิ่งที่นำมาใช้แพร่หลายที่สุดในปัจจุบัน

Meta data
Meta data  หมายถึง ข้อมูลที่ใช้กำกับและอภิบายข้อมูลหลักหรือกลุ่มของข้อมูลอื่น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ บัตรในห้องสมุดสำหรับสืบค้นหนังสือ โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชื่อหนังสือและตำแหน่งของหนังสือที่ต้องการหา ซึ่งหนังสือเป็นข้อมูลที่ต้องการ และบัตรเป็นข้อมูลที่อธิบายรายละเอียดของข้อมูลนั้น

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

E-Learning 19-01-12

1.สรุปเนื้อหา จากหน้า 11-19
องค์ประกอบของ e-Learning  
1.ใช้งานง่าย  การออกแบบ E-Learning  ที่ดีจะต้องมีการสร้างองค์ความรู้ที่ดี  คุณภาพและประสิทธิภาพของ E-Learning  จะต้องมีการสร้างประเด็นการเรียนรู้  มีการโต้ตอบ  การประเมินตามสภาพการใช้งานที่ง่าย
2.มีปฏิสัมพันธ์  มีกิจกรรมการเรียนการสอน  ต้องออกแบบให้ผู้เรียนสามารถสอบถามได้    ควรที่จะมีทรัพยาการที่ออนไลน์  มีผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญที่ออนไลน์และสามารถตอบคำถามของผู้เรียนได้  มีส่วนที่คอยสนับสนุน  และผู้ที่คอยอำนวยความสะดวก
3.ให้มีผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลาย  ใช้หลักสูตราภายนอกและผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์โดยตรง  ผ่านทาง Internet  ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อผู้เรียน
4.การเรียนรู้แบบผู้เรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้  มีการอธิบาย  แลกเปลี่ยน  และการสื่อสารความคิดเห็นซึ่งกันและกัน  ผู้เรียนสามารถทำงานและเรียนรู้ไปด้วยกันได้   สามารถพัฒนาไปสู่เป้าหมายและพัฒนาไปสู่สังคม  การสื่อการ  คิดวิเคราะห์  ภาวะผู้นำ  รวมทั้งมีการประเมินตนมสภาพจริงและเป็นการเรียนแบบร่วมมือกัน  ตัวหลักสูตรสามารถที่จะมีการออกแบบให้มีสภาพการเรียนรู้ตามสภาพจริงได้
5.จัดได้ตามสภาพจริง  ให้สามารภที่จะออกแบบเหมือนโลกของความเป็นจริงได้
6.การควบคุมผู้เรียน  ต้อมมีการค้ดกรองนักเรียนก่อนโดยให้มีกิจกรรมอภิปรายและสังเกตผู้เรียน  มีการควบคุมระยะเวลา  หัวข้อ  และผลจากการเรียน  รวมถึงสื่อต่าง ๆ ที่จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้  สิ่งที่อำนวยความสะดวกของผู้เรียนจะช่วยลดปัญหาที่จะเกิดขึ้น

2.ตอบคำถาม
                2.1 นอกจากส่วนประกอบของ E-Learning ที่กล่าวไว้คุณคิดว่ามีอย่างอื่นอีกหรือไม่ 
                                - ระบบเครือข่าย 
                                - บุคลากรที่เกี่ยวข้อง   บุคลากรควรได้รับการพัฒนา โดยพัฒนาทั้งผู้เรียนและผู้สอนไปด้วยกัน และให้ทุกคนใช้งานระบบ      e-Learning ได้และใช้เป็น
                2.2นอกจากคุณสมบัติที่กล่าวไว้น่าจะมีอย่างอื่นอีกหรือไม่
1.Anywhere, Anytime and Anybody คือ ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้ มาจากที่ใดก็ได้ และเรียนเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียน เพราะหน่วยงานได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งบริการจัดทำเป็นชุด CD เพื่อใช้ในลักษณะ Offline ให้กับโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่สนใจ แต่ยังไม่พร้อมในระบบอินเทอร์เน็ต
2.Multimedia สื่อที่นำเสนอในเว็บ ประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนวีดิทัศน์ อันจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
3.Non-Linear ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่นำเสนอได้ตามความต้องการ
4.Interactive ด้วยความสามารถของเอกสารเว็บที่มีจุดเชื่อม (Links) ย่อมทำให้เนื้อหามีลักษณะโต้ตอบกับผู้ใช้โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว และผู้เรียนยังเพิ่มส่วนติดต่อกับวิทยากรผ่านระบบเมล์ ICQ, Microsoft Messenger และสมุดเยี่ยม ทำให้ผู้เรียนกับวิทยากรสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว

3.สรุปเนื้อหา หน้า23-25
การจัดการบริหาร ฝ่ายบริหาร
การจัดการบริหาร E-Learning ของฝ่ายบริหารต้องมีการประเมินความต้องการ ความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กร ต้องดูในเรื่องของงบประมาณ ผลการตอบแทน หุ้นส่วนของสถาบันอื่นๆ โปรแกรมและรายวิชาต่างๆ การตลาดรวมทั้งการแสวงหา การแข่งขันอื่นๆ ด้วย ซึ่งความพร้อมต่างๆ ที่จะทำการปรับเปลี่ยนโดยมองหุ้นส่วน Program หลักสูตร อุปกรณ์สื่อต่างๆ 
- การประเมินความต้องการจำเป็น ความต้องการของผู้ที่จะมารับมือกับโปรแกรมและหลักสูตร E-Learning จะต้องมีการวางแผนทางการตลาด ในทางการศึกษาต้องการที่จะให้มีผู้เข้ามาเรียนซึ่งต่างจากทางธุรกิจที่หวังผลกำไร มีการเปิดสอนหลักสูตรที่หลากหลายทั้งระยะสั้นและระยะยาว
- การประเมินความพร้อม จะต้องมีการเตรียมความพร้อมที่จะนำ E-Learning เข้ามาใช้มีการสำรวจสถานะความพร้อมของตนเองก่อน รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย การกระจาย ความยืดหยุ่น สภาพแวดล้อมของ E-Learning เทคโนโลยี การควบคุม บุคลากร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- การเตรียมความพร้อมทางการเงิน สถาบันควรที่จะพิจารณางบที่จะสนับสนุนทาง E-Learning ด้วยว่ามีเพียงพอหรือไม่ และต้องมองไปถึงการใช้งบประมาณในระยะยาวด้วยว่ามีความพร้อมมากน้อยเพียงใด
- การเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน สถาบันมีแผนโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีที่สนับสนุนดีหรือไม่ มีการเตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานของบุคลากร อุปกรณ์ และเทคโนโลยีมากน้อยเพียงใด
- การเตรียมความพร้อมทางวัฒนธรรม เมื่อผู้เรียนต้องเป็นผู้ที่เรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนจะสามารถควบคุมตนเองได้มากน้อยเพียงใดที่จะไม่ดูหนังสือเวลาทำแบบทดสอบ ซึ่งก็หมายถึงวัฒนธรรมที่แต่ละที่รวมถึงจริยธรรมที่ผู้เรียนควรที่จะมีในการเรียนรู้โดยผ่านทาง E-Learning
- การเตรียมความพร้อมในเนื้อหา เนื้อหาที่อยู่ใน E-Learning ส่วนใหญ่จะเป็นพวกข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว วีดิโอ หรือ Animation ต่างๆ จะต้องเป็นเนื้อหาที่เข้าใจได้ง่าย ไม่มากจนเกินไปซึ่งอาจทำให้ผู้เรียนเบื่อในการอ่านหรือศึกษาได้ จึงเป็นสิ่งที่กระชับสามารถทำความเข้าใจได้ตรงตามเป้าหมาย

กิจกรรม หาบทความที่พูดถึงองค์ประกอบ E-learning

องค์ประกอบของ e-Learning  มี 4 ส่วน ที่สำคัญ คือ
1. ระบบจัดการการศึกษา (Management Education System)
ไม่ว่าระบบใดในโลกก็ต้องมีการจัดการ เพื่อทำหน้าที่ควบคุม และประสานงาน ให้ระบบดำเนินไปอย่างถูกต้อง องค์ประกอบนี้สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่ในการวางแผน กำหนดหลักสูตร ตารางเวลา แผนด้านบุคลากร แผนงานบริการ แผนด้านงบประมาณ แผนอุปกรณ์เครือข่าย แผนประเมินผลการดำเนินงาน และทำให้แผนทั้งหมด ดำเนินไปอย่างถูกต้อง รวมถึงการประเมิน และตรวจสอบ กระบวนการต่าง ๆ ในระบบ และนำหาแนวทางแก้ไข เพื่อให้ระบบดำเนินต่อไปด้วยดี และไม่หยุดชะงัก
2. เนื้อหารายวิชา เป็นบท และเป็นขั้นตอน (Contents)
หน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้สอนคือ การเขียนคำอธิบายรายวิชา วางแผนการสอน ให้เหมาะสมกับเวลา ตรงกับความต้องการของสังคม สร้างสื่อการสอนที่เหมาะสม แยกบทเรียนเป็นบท มีการมอบหมายงานเมื่อจบบทเรียน และทำสรุปเนื้อหาไว้ตอนท้ายของแต่ละบท พร้อมแนะนำแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมให้ไปศึกษาค้นคว้า
3. สามารถสื่อสารระหว่างผู้เรียน และผู้สอน หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน (Communication)
ทุกคนในชั้นเรียนสามารถติดต่อสื่อสารกัน เพื่อหาข้อมูล ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือตอบข้อซักถาม เพื่อให้การศึกษาได้ประสิทธิผลสูงสุด สื่อที่ใช้อาจเป็น E-mail, โทรศัพท์, Chat board, WWW board หรือ ICQ เป็นต้น ผู้สอนสามารถตรวจงานของผู้เรียน พร้อมแสดงความคิดเห็นต่องานของผู้เรียน อย่างสม่ำเสมอ และเปิดเผยผลการตรวจงาน เพื่อให้ทุกคนทราบว่า งานแต่ละแบบมีจุดบกพร่องอย่างไร เมื่อแต่ละคนทราบจุดบกพร่องของตน จะสามารถกลับไปปรับปรุงตัว หรืออ่านเรื่องใดเพิ่มเติมเป็นพิเศษได้
4. วัดผลการเรียน (Evaluation)
งานที่อาจารย์มอบหมาย หรือแบบฝึกหัดท้ายบท จะทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ และเข้าใจเนื้อหาวิชามากขึ้น จนสามารถนำไปประยุกต์ แก้ปัญหาในอนาคตได้ แต่การจะผ่านวิชาใดไป จะต้องมีเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อวัดผลการเรียน ซึ่งเป็นการรับรองว่าผู้เรียนผ่านเกณฑ์ จากสถาบันใด ถ้าไม่มีการสอบก็บอกไม่ได้ว่าผ่านหรือไม่ เพียงแต่เข้าเรียนอย่างเดียว จะไม่ได้รับความเชื่อถือมากพอ เพราะเรียนอย่างเดียว ผู้สอนอาจสอนดี สอนเก่ง สื่อการสอนยอดเยี่ยม แต่ผู้เรียนนั่งหลับ หรือโดดเรียน ก็ไม่สามารถนำการรับรองว่าเข้าเรียนนั้น ได้มาตรฐาน เพราะผ่านการอบรม มิใช่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจากการสอบ ดังนั้นการวัดผลการเรียน จึงเป็นการสร้างมาตรฐาน ที่จะนำผลการสอบไปใช้งานได้ ดังนั้น E-learning ที่ดีควรมีการสอบ ว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่

                              บทเรียน E -Learning  การ เรียน รู้ ที่ ดี มี ส่วนประกอบ
      หัวใจของระบบอีเลิร์นนิงประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 2 ส่วน  โดยส่วนแรก คือ Courseware ส่วนที่สอง คือ ระบบ LMS (Learning  Management  Systems) ซึ่งจะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ 
         1. Courseware คือเอกสารประกอบการเรียนการสอนที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งในปัจจุบันนิยมทำในรูปของเอกสารเว็บ Courseware ที่ดีจะต้องได้รับการออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นบทเรียน แต่ละบทเรียนจะมีการกำหนดแนวคิดและวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน มีการนำเสนอเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน แหล่งวิทยาการที่เกี่ยวข้อง (resources) โดยเน้นที่องค์ความรู้จากห้องสมุดเสมือนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งสามารถจะเข้าถึงได้ทันที มีการทดสอบเพื่อประเมินว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในระดับใด มีการออกแบบให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเนื้อหาวิชา ผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน โดยใช้การสื่อสารผ่านเครือข่าย นอกจากนั้นแล้วการออกแบบ Courseware ที่ดีนั้นต้องใช้ความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในสิ่งที่การนำเสนอในรูปแบบที่เอกสารสิ่งพิมพ์ทำไม่ได้หรือทำได้ยาก
          2 . LMS คืออะไร
           LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

 องค์ประกอบ LMS
     LMS ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้
      1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็ม รูปแบบ
      2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media
      3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน
      4. ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้
      5. ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin กำหนดให้

อ้างอิง


วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

สรุปเนื้อหา่ E-Learning

ความหมายของ e-Learning (What is e-Learning?)
การเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Learning รูปแบบการเรียนการสอน ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหา(delivery methods) ผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม และใช้รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาสารสนเทศ ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer-Assisted Instruction) การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรืออาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจากวิดีทัศน์ตามอัธยาศัย (Video On-Demand) เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน เมื่อกล่าวถึง e-Learning คนส่วนใหญ่จะหมายเฉพาะถึง การเรียนเนื้อหาหรือสารสนเทศซึ่งออกแบบมาสำหรับการสอนหรือการอบรม ซึ่งใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา และเทคโนโลยีระบบการบริหารจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System)ในการบริหารจัดการการเรียนรู้ของผู้เรียนและงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนจาก e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ นอกจากนี้ เนื้อหาสารสนเทศของ e-Learning จะถูกนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)
                จากความหมายที่คนส่วนใหญ่นิยาม e-Learning นั้น จำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่า
e-Learningไม่ใช่เพียงแค่การสอนในลักษณะเดิม ๆ และนำเอกสารการสอนมาแปลงให้อยู่ในรูปดิจิตัล และนำไปวางไว้บนเว็บ หรือระบบบริหารจัดการการเรียนรู้เท่านั้น แต่ครอบคลุมถึง กระบวนการในการเรียนการสอน หรือการอบรมที่ใช้เครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นทางการเรียนรู้ (flexible learning) สนับสนุนการเรียนรู้ในลักษณะที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (learner-centered) และการเรียนในลักษณะตลอดชีวิต(life-long learning) ซึ่งอาศัยการเปลี่ยนแปลงด้านกระบวนทัศน์ (paradigm shift) ของทั้งกระบวนการในการ
เรียนการสอนด้วย นอกจากนี้ e-Learning ไม่จำเป็นต้องเป็นการเรียนทางไกลเสมอ คณาจารย์สามารถนำไปใช้ในลักษณะการผสมผสาน (blended) กับการสอนในชั้นเรียนได้

การเรียนการสอนแบบเดิม 
-ครูมองความสำเร็จของการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญมุ่งไปที่การดูว่าครูมีวิธีสอนที่ทำให้เด็กมีกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเน้นการคิดเอง ปฏิบัติเอง ของเด็ก
-เชื่อว่าผู้เรียนมีความสามารถต่างกันจึงมีผลการเรียนรู้ได้ไม่เท่ากัน เข้าทำนองคนเก่งเท่านั้นจึงเรียนดี คนอ่อนเรียนไม่ดี
-ผู้เรียนเรียนรู้จากการอ่าน การฟัง การฝึก และการจดจำ
-ผลการเรียน คือ ความรู้ที่แสดงออกด้วยการจดจำความจริง กฎ เกณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นเนื้อหา 
-ครูมีกระบวนการสอนที่เป็นมาตรฐานตายตัวใช้กับผู้เรียนทุกคน เช่น มีขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นให้ความคิดรวบยอดหลักการ ขั้นขยายความรู้ ขั้นฝึกปฏิบัติ ขั้นสรุป
-ปล่อยให้เด็กทำกิจกรรมเรียนรู้ตามลำพัง ครูอำนวยความสะดวกจัดสื่อจัดแหล่งการเรียนรู้
-การวัดผลประเมินผลมีจุดอ่อนในการยึดเพียงเนื้อหาตามตำรา มีจุดอ่อนที่ใช้เครื่องมือวัดผลที่จำกัดความคิดของเด็ก เช่น ใช้ข้อสอบแบบเลือกตอบที่วัดความรู้ความจำผิวเผิน มีจุดอ่อนที่วัดผลประเมินผลน้อยครั้ง วัดและประเมินเพียงเพื่อตัดสินผลการเรียน

องค์ประกอบของ e-Learning (Component of e-Learning)
1. เนื้อหา (Content)เนื้อหาเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดสำหรับ e-Learning คุณภาพของการเรียนการสอนของ e-Learning และการที่ผู้เรียนจะบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนในลักษณะนี้หรือไม่อย่างไร สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ เนื้อหาการเรียนซึ่งผู้สอนได้จัดหาให้แก่ผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนมีหน้าที่ในการใช้เวลาส่วนใหญ่ศึกษาเนื้อหาด้วยตนเอง เพื่อทำการปรับเปลี่ยน (convert) เนื้อหาสารสนเทศที่ผู้สอนเตรียมไว้ให้เกิดเป็นความรู้ โดยผ่านการคิดค้น วิเคราะห์อย่างมีหลักการและเหตุผลด้วยตัวของผู้เรียนเอง คำว่า เนื้อหาในองค์ประกอบแรกของ e-Learning นี้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะ
สื่อการสอน และ/หรือ คอร์สแวร์ เท่านั้น แต่ยังหมายถึงส่วนประกอบสำคัญอื่น ๆ ที่ e-Learning จำเป็นจะต้องมีเพื่อให้เนื้อหามีความสมบูรณ์ เช่น คำแนะนำการเรียน ประกาศสำคัญต่าง ๆ ผลป้อนกลับของผู้สอน เป็นต้น
2. ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System)
องค์ประกอบที่สำคัญมากเช่นกันสำหรับ e-Learning ได้แก่ ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ ซึ่งเป็น
เสมือนระบบที่รวบรวมเครื่องมือซึ่งออกแบบไว้เพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการจัดการกับการเรียนการสอนออนไลน์นั่นเอง ซึ่งผู้ใช้ในที่นี้ แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้สอน (instructors) ผู้เรียน (students) ผู้ช่วยสอน(course manager) และผู้ที่จะเข้ามาช่วยผู้สอนในการบริหารจัดการด้านเทคนิคต่าง ๆ (network administrator)ซึ่งเครื่องมือและระดับของสิทธิในการเข้าใช้ที่จัดหาไว้ให้ก็จะมีความแตกต่างกันไปตามแต่การใช้งานของแต่ละกลุ่ม ตามปรกติแล้ว เครื่องมือที่ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ต้องจัดหาไว้ให้กับผู้ใช้ ได้แก่ พื้นที่และเครื่องมือสำหรับการช่วยผู้เรียนในการเตรียมเนื้อหาบทเรียน พื้นที่และเครื่องมือสำหรับการทำแบบทดสอบ แบบสอบ

ข้อจำกัด
1. ผู้สอนที่นำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะของสื่อเสริม โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเลย กล่าวคือผู้สอนยังคงใช้แต่วิธีการบรรยายในทุกเนื้อหา และสั่งให้ผู้เรียนไปทบทวนจาก e-Learning หาก e-Learningไม่ได้ออกแบบให้จูงใจผู้เรียนแล้ว ผู้เรียนคงใช้อยู่พักเดียวก็เลิกไปเพราะไม่มีแรงจูงใจใด ๆ ในการใช้e-Learning ก็จะกลายเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าแต่อย่างใด
2. ผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ให้ (impart) เนื้อหาแก่ผู้เรียน มาเป็น (facilitator) ผู้ช่วยเหลือและให้คำแนะนำต่าง ๆ แก่ผู้เรียน พร้อมไปกับการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองจาก e-Learningทั้งนี้ หมายรวมถึง การที่ผู้สอนควรมีความพร้อมทางด้านทักษะคอมพิวเตอร์และรับผิดชอบต่อการสอนมีความใส่ใจกับผู้เรียนโดยไม่ทิ้งผู้เรียน
3. การลงทุนในด้านของ e-Learning ต้องครอบคลุมถึงการจัดการให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาและการติดต่อสื่อสารออนไลน์ได้สะดวก สำหรับ e-Learning แล้ว ผู้สอนหรือผู้เรียนที่ใช้รูปแบบการเรียนในลักษณะนี้จะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวก (facilities) ต่าง ๆ ในการเรียนที่พร้อมเพรียงและมีรูปแสดงการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการใช้ e-Learning กับการจัดการเรียนการสอนตามBest Practice in Teaching with e ประสิทธิภาพ เช่น ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้ และสามารถเรียกดูเนื้อหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในลักษณะมัลติมีเดีย ได้อย่างครบถ้วน ด้วยความเร็วพอสมควร เพราะหากปราศจากข้อได้เปรียบในการติดต่อสื่อสารและการเข้าถึงเนื้อหาได้สะดวก รวมทั้งข้อได้เปรียบสื่ออื่น ๆ ในลักษณะในการนำเสนอเนื้อหา เช่น มัลติมีเดีย แล้วนั้นผู้เรียนและผู้สอนก็อาจไม่เห็นความจำเป็นใด ๆ ที่ต้องใช้ e-Learning
4. การออกแบบ e-Learning ที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน เช่น ผู้เรียนระดับอุดมศึกษาในบ้านเราซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในวัยรุ่น e-Learning จะต้องได้รับการออกแบบตามหลักจิตวิทยาการศึกษา กล่าวคือ จะต้องเน้นให้มีการออกแบบให้มีกิจกรรมโต้ตอบอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นกับเนื้อหาเอง กับผู้เรียนอื่น ๆ หรือกับผู้สอนก็ตาม นอกจากนั้นแล้ว การออกแบบการนำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ นอกจากจะต้องเน้นให้เนื้อหามีความถูกต้องชัดเจน ยังคงจะต้องเน้นให้มีความน่าสนใจ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้ตัวอย่างเช่น การออกแบบนำเสนอโดยใช้มัลติมีเดีย รวมทั้ง การนำเสนอในลักษณะ non-linear ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกที่จะเรียนเนื้อหาก่อนหลังได้ตามความต้องการ
5. ในการที่ e-Learning จะส่งผลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ของผู้เรียนได้นั้น สิ่งสำคัญได้แก่ การที่ผู้เรียนจะต้องรู้จักวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-Learning) อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการสนับสนุน และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างวินัยในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (selfdiscipline)รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างเสริมลักษณะนิสัย ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ รู้จักวิธีการเลือกสรรประเมิน รวบรวมสารสนเทศ รวมทั้งรู้จักการจัดระเบียบ (organize) วิเคราะห์ สังเคราะห์ และการนำเสนอสารสนเทศตามความเข้าใจของตนเองระดับของสื่อสำหรับ e-Learning (Level of media for e-Learning)



สำหรับ e-Learning แล้ว การถ่ายทอดเนื้อหาสามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะด้วยกัน กล่าวคือ
1. ระดับเน้นข้อความออนไลน์ (Text Online)หมายถึง เนื้อหาของ e-Learning ในระดับนี้จะอยู่ในรูปของข้อความเป็นหลัก e-Learning ในลักษณะนี้จะเหมือนกับการสอนบนเว็บ (WBI) ซึ่งเน้นเนื้อหาที่เป็นข้อความ ตัวอักษรเป็นหลัก ซึ่งมีข้อดี ก็คือการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการผลิตเนื้อหาและการบริหารจัดการการเรียนรู้
2. ระดับรายวิชาออนไลน์เชิงโต้ตอบและประหยัด (Low Cost Interactive Online Course)
หมายถึง เนื้อหาของ e-Learning ในระดับนี้จะอยู่ในรูปของตัวอักษร ภาพ เสียง และวิดีทัศน์ ที่ผลิตขึ้นมาอย่างง่าย ๆ ประกอบการเรียนการสอน e-Learning ในระดับหนึ่งและสองนี้ ควรจะต้องมีการพัฒนา LMSที่ดี เพื่อช่วยผู้ใช้ในการสร้างและปรับเนื้อหาให้ทันสมัยได้อย่างสะดวกด้วยตนเอง
3. ระดับรายวิชาออนไลน์คุณภาพสูง (High Quality Online Course)หมายถึง เนื้อหาของ e-Learning ในระดับนี้จะอยู่ในรูปของมัลติมีเดียที่มีลักษณะมืออาชีพ กล่าวคือ การผลิตต้องใช้ทีมงานในการผลิตที่ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหา (content experts) ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบการสอน (instructional designers) และ ผู้เชี่ยวชาญการผลิตมัลติมีเดีย (multimedia experts) ซึ่งหมายรวมถึง
โปรแกรมเมอร์ (programmers) นักออกแบบกราฟิก (graphic designers) และ/หรือผู้เชี่ยวชาญในการผลิตแอนิเมชั่น (animation experts) e-Learning ในลักษณะนี้จะต้องมีการใช้เครื่องมือ หรือโปรแกรมเฉพาะ เพิ่มเติมสำหรับทั้งในการผลิตและเรียกดูเนื้อหาด้วย ตัวอย่างโปรแกรมในการผลิต เช่น Macromedia Flash และตัวอย่างโปรแกรมเรียกดูเนื้อหา เช่น โปรแกรม Macromedia Flash Player และ โปรแกรม Real Player Plusเป็นต้น
ระดับของการนำ e-Learning ไปใช้ในการเรียนการสอน
การนำ e-Learning ไปใช้ในการเรียนการสอน สามารถทำได้ 3 ระดับ ดังนี้
1. ใช้ e-Learning เป็นสื่อเสริม (Supplementary)หมายถึงการนำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะสื่อเสริม กล่าวคือ นอกจากเนื้อหาที่ปรากฏในลักษณะe-Learning แล้ว ผู้เรียนยังสามารถศึกษาเนื้อหาเดียวกันนี้ในลักษณะอื่น ๆ เช่น จากเอกสาร(ชี้ท) ประกอบการสอน จากวิดีทัศน์ (Videotape) ฯลฯ การใช้ e-Learning ในลักษณะนี้เท่ากับว่าผู้สอนเพียงต้องการใช้ e-Learning เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้เรียนในการเข้าถึงเนื้อหาเพื่อให้ประสบการณ์พิเศษเพิ่มเติมแก่ผู้เรียนเท่านั้น
2. ใช้ e-Learning เป็นสื่อเติม (Complementary)หมายถึงการนำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะเพิ่มเติมจากวิธีการสอนในลักษณะอื่น ๆ เช่น นอกจากการบรรยายในห้องเรียนแล้ว ผู้สอนยังออกแบบเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมจาก e-Learningโดยเนื้อหาที่ผู้เรียนเรียนจาก e-Learning ผู้สอนไม่จำเป็นต้องสอนซ้ำอีก แต่สามารถใช้เวลาในชั้นเรียนในการอธิบายในเนื้อหาที่เข้าใจได้ยาก ค่อนข้างซับซ้อน หรือเป็นคำถามที่มีความเข้าใจผิดบ่อย ๆ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เวลาในการทำกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการคิดวิเคราะห์แทนได้ ในความคิดของผู้เขียนแล้ว
ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ของเรา เมื่อได้มีการลงทุนในการนำ e-Learning ไปใช้กับการเรียนการสอนแล้วอย่างน้อยควรตั้งวัตถุประสงค์ในลักษณะของสื่อเติม (Complementary) มากกว่าแค่เพียงเป็นสื่อเสริม(Supplementary) เพื่อให้เกิดความคุ้มทุน นอกจากนี้อาจยังไม่เหมาะสมที่จะใช้ในลักษณะแทนที่ผู้สอน(Replacement) ตัวอย่างการใช้ในลักษณะสื่อเติม เช่น ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาด้วยตนเองจากe-Learning ในวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งก่อนหรือหลังการเข้าชั้นเรียน รวมทั้ง ให้กำหนดกิจกรรมที่ทดสอบความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาดังกล่าวใน session การเรียนตามปรกติ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียนของเรา ซึ่งยังต้องการคำแนะนำจากครูผู้สอน รวมทั้งการที่ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังขาดการปลูกฝังให้มีความใฝ่รู้โดยธรรมชาติ
3. ใช้ e-Learning เป็นสื่อหลัก (Comprehensive Replacement)หมายถึงการนำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะแทนที่การบรรยายในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมดออนไลน์ และโต้ตอบกับเพื่อนและผู้เรียนอื่น ๆ ในชั้นเรียนผ่านทางเครื่องมือติดต่อสื่อสารต่าง ๆ ที่ e-Learning จัดเตรียมไว้ ในปัจจุบันแนวคิดเกี่ยวกับการนำ e-Learning ไปใช้ในต่างประเทศจะอยู่ในลักษณะlearning through technology ซึ่งหมายถึง การเรียนรู้โดยมุ่งเน้นการเรียนในลักษณะมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยว
ข้องไม่ว่าจะเป็น ผู้สอน ผู้เรียน และผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ (Collaborative Learning) โดยอาศัยเทคโนโลยีในการนำเสนอเนื้อหา และกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งต้องการการโต้ตอบผ่านเครื่องมือสื่อสารตลอด โดยไม่เน้นทางด้าน Best Practice in Teaching with e-Learning

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

E-Learningที่น่าสนใจ

E-Learning ที่น่าสนใจ

ตัวอย่าง E-Learning ที่สนใจคือ  http://elearning.nectec.or.th/

LearnSquare Thailand Opensource e-Learning Management System
   LearnSquare คือระบบ e-Learning ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามอัธยาศัย ทุกที่ ทุกเวลา ในรูปแบบสื่อมัลติมีเดียทั้งบทความ ภาพ เสียง หรือวิดีโอ ที่สามารถโต้ตอบได้เสมือนการเรียนในห้องเรียนปกติซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กว้างมากขึ้น และมีมาตรฐานที่เท่าเทียมกัน

คุณสมบัติของระบบ LearnSquare
  • เป็นระบบ Opensource สามารถดาวน์โหลดนำไปใช้งานได้ฟรี ภายใต้เงื่อนไข GPL
  • สนับสนุนการทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows และ Linux
  • แนวทางพัฒนาตามมาตรฐานสากล (SCORM)
  • ใช้งานง่ายและสนับสนุนการพัฒนาต่อยอดตามแนวทางของโอเพ่นซอร์ส
  • มีระบบสนับสนุนการทำงานมากมาย ดังนี้
    • ระบบการสมัครเรียน
    • ระบบการลงทะเบียน
    • ระบบการเรียน
    • ระบบการจัดการหลักสูตร
    • ระบบการจัดตารางสอน
    • ระบบการจัดการผู้ใช้งาน
    • ระบบสนทนา เว็บบอร์ด
    • ระบบจดหมายอิเลกทรอนิกส์
    • ระบบปฏิทินนัดหมาย
    • ระบบการติดตามการเข้าเรียน
    • ระบบจัดการข้อมูลส่วนตัว
    • ระบบสร้างข้อสอบและประเมินผลอัตโนมัติ
    • ระบบการออกใบรับรองอัตโนมัติ
    • ระบบรายงานสถิติต่างๆ
    • ระบบสำรองข้อมูล
    • ระบบการกระจายเนื้อหา


           ซึ่งบทเรียนที่ดิฉันเลือกเข้าไปศึกษาเป็นบทเรียนแรกคือ  e-learning : EL013 : การใช้งาน moodle แบบ step by step


สิ่งที่ได้เรียนรู้ 5 มกราคม 2555

               สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
                เริ่มต้นการเรียนของวันนี้อาจารย์ได้พูดคุยให้แนวคิดการสร้างอีเลินนิ่งกับนิสิต ซึ่งเป็นงานที่นิสิตจะต้องนำมาทำปรับใช้กับชิ้นงานอีเลินนิ่งของตัวเองต่อไป
               จากนั้นอาจารย์ได้ตรวจชิ้นงานที่มอบหมายเมื่ออาทิตย์ที่แล้วแล้วสรุปเพื่อเป็นความเข้าใจ สรุปได้ดังนี้
               1. Flexible Learning–FL:  การเรียนแบบยืดหยุ่นเป็นการเรียนที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกวัย โดยไม่ต้องมานั่งเรียนในห้องเรียน
               2.Mobile Learning:  การเรียนรู้โดยผ่านทางอุปกรณ์เคลื่อนที่ สามารถพกพาได้ เช่น i-phone
,i-pod หรือ สมาทโฟนอื่นๆ
               3.Blended Learning/Hybrid Solutions:  การเรียนแบบผสมผสาน คือ รวมรูปแบบการเรียนการสอน วิธีการเรียนการสอน การเรียนแบบออนไลน์ และรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
               4.Mentored Learning:  เป็นการให้ผู้ที่มีความสามารถหรือเป็นที่ยอมรับ หรือผู้บริหารในหน่วยงานให้คำปรึกษาและแนะนำช่วยเหลือรุ่นน้อง
               5.Life Long Learning:  การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

Life Long Learning

Life Long Learning 
              
                     แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในฐานะที่เป็นยุทธศาสตร์การศึกษา เกิดขึ้นเมื่อประมาณกว่า 30 ปีมาแล้ว ภายใต้ความพยายามของ OECD UNESCO และสภายุโรป (Council of Europe) เป็นการสนองต่อความบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีต ในขณะที่บุคคลเรียนรู้ตลอดเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ โอกาสทางการศึกษามีขีดจำกัดในช่วงเริ่มแรกของชีวิต ที่ครอบงำโครงการศึกษาที่เป็นทางการ (Formal Education) จึงมีความจำเป็นที่จะให้โอกาสที่สองแก่คนที่ไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น
                  การเรียนรู้ตลอดชีวิตไม่เพียงหมายถึงการศึกษาผู้ใหญ่ (Adult Education) เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมการเรียนรู้ทุกรูปแบบตลอดช่วงชีวิตอีกด้วย บทความชิ้นนี้นำเสนอความหมายเชิงนโยบายที่ตรงประเด็นของแนวคิด การเรียนรู้ตลอดชีวิต

ความหมาย
               การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนา ตนเอง

คุณลักษณะพิเศษของแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
                   การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องมีมุมมองแบบองค์รวม (Comprehensive View) ที่ครอบคลุมกิจกรรมการเรียนรู้ทุกด้าน โดยมีเป้าหมายที่จะปรับปรุงความรู้และความสามารถในการแข่งขันของบุคคล ที่ปรารถนาเข้าร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้คุณลักษณะ 4 ประการของแนวคิดการเรียนรู้ ได้แก่
                        1. มีมุมมองอย่างเป็นระบบ สิ่งนี้คือคุณลักษณะที่พิเศษที่สุดของการเรียนรู้ตลอดชีวิต กรอบแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ของโอกาสการเรียนรู้      ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบที่มีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งครอบคลุมวงจรชีวิตทั้งหมด และประกอบด้วยรูปแบบ   ต่าง ๆ ของการเรียนรู้ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
                        2.  มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการเปลี่ยนจากมุ่งเน้นด้านอุปทาน (Supply) เป็นศูนย์กลาง ในรูปแบบการจัดการศึกษาเชิงสถาบันที่เป็นทางการ ไปสู่ด้านอุปสงค์ (Demand) ที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก
                        3. มีแรงจูงใจที่จะเรียน ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ที่มีความต่อเนื่องตลอดชีวิต ทั้งนี้ต้องมุ่งเน้นที่จะพัฒนาขีดความสามารถในการเรียนรู้ที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ที่ตนเองเป็น ผู้ชี้นำ
                       4. มีวัตถุประสงค์ของนโยบายการศึกษาที่หลากหลาย มุมมองวงจรชีวิตที่ให้ความสำคัญกับเป้าหมายการศึกษาที่หลากหลาย อาทิ การพัฒนาบุคลิกภาพ การพัฒนาความรู้ วัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และการจัดลำดับความสำคัญของวัตถุประสงค์เหล่านี้ อาจเปลี่ยนไปใน  แต่ละช่วงชีวิตของคน ๆ หนึ่ง

ความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต


                       พลังผลักดันที่สำคัญทางสังคม เศรษฐกิจจำนวนมากสนับสนุนแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตกระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของการทำงานและตลาดแรงงานและโครงสร้างอายุประชากร เป็นแรงผลักดันที่สำคัญต่อความจำเป็นที่จะต้องมีการยกระดับทักษะการทำงานและการใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่อง ความต้องการก็เพื่อ Treshold ที่ยกระดับของทักษะเช่นเดียงกับการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นในธรรมชาติของทักษะ แรงกระตุ้นของกิจการเพื่อให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นส่งผลต่อสภาพการทำงาน มีแนวโน้มที่จะมีการจ้างงานระยะสั้นในตลาดสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของตลาดได้ง่าย และวัฎจักรสินค้าที่สั้นลง งานอาชีพลดลงและบุคคลประสบกับความเปลี่ยนแปลงในเรื่องงานดีขึ้นในช่วงชีวิตทำงาน
                         การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอย่างกว่างขวางกำลังคุกคามขั้วใหม่ระหว่างสิ่งที่ความรู้มีและสิ่งที่ความรู้ไม่มี ในทางกลับกันสิ่งนี้อาจคุกคามรากฐานของประชาธิปไตยด้วยโอกาสในการฝึกอบรมในภายหลังนั้น ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของแต่ละบุคคลที่ข้ามาสู่การจ้างงาน และโอกาสการเรียนรู้เปิดกว้างแก่ ผู้ว่างงาน ลูกจ้างในสถานประกอบการขนาดเล็ก และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคมกลับยิ่งน้อยกว่าลูกจ้างในสถานประกอบการขนาดใหญ่มาก ความไม่เท่าเทียมกันนี้ (Disparities) สะท้อนช่องว่างรายได้ระหว่างผู้มีวุฒิการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และผู้ที่ไม่มีวุฒิดังกล่าว และช่องว่างนั้นยิ่งกว้างขึ้นเรื่อย ๆ
                การลงทุนในการศึกษาแะการฝึกอบรมที่จะสนองต่อยุทธศาสตร์การเรียนรู้ตลอดชีวิตก็เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางสังคมและเศรษฐกิจโดยก่อให้เกิดประโยชน์ส่วนบุคคลผู้ประกอบการ และเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว สำหรับบุคคลแล้วการเรียนรู้ตลอดชีวิตมุ่งเน้นที่การสร้างสรรค์ การริเริ่ม และความรับผิดชอบ ซึ่งส่งผลให้เกิดการตอบสนองต่อตนเอง งานที่ดีขึ้นรายได้ที่เพิ่มขึ้น นวัตกรรมใหม่ ๆ และเพิ่มความสามารถในการผลิตมากขึ้นด้วย ทักษะและศักยภาพของแรงงานเป็นปัจจัยหลักในผลงานและความสำเร็จของสถานประกอบการ สำหรับเศรษฐกิจ  แล้วมีความสัมพันธ์ที่สนับสนุนกันระหว่างการได้รับการศึกษาและการเติบโตทางเศรษฐกิจอะไรคือผลเชิงนโยบายของแนวคิดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าสู่และผลลัพธ์ของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น นอกเหนือจากสิ่งที่เป็นทางการ ดังนั้นกิจกรรมการเรียนรู้ของวัยรุ่นและผู้ใหญ่จึงอยู่นอกเหนือขอบเขตที่มีการบันทึกไว้ นอกจากการวัดเชิงปริมาณแล้วประเด็นเชิงคุณภาพและความก้าวหน้าของการเรียนรู้ตลอดชีวิต ต้องมีการพิสูจน์ให้เห็นว่าระบบโครงสร้างเชิงสถาบัน เชิงกฎหมาย และเชิงนโยบาย เอื้อต่อการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ดีอย่างไร


                      ที่มา http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/liciti/longlife.html
                                www.stabundamrong.moi.go.th/interest/learning.doc