วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ 26/01/2555 E-Learning Courseware บรรยายโดย ผศ.ดร.ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ

E-Learning Courseware
Courseware คือเอกสารประกอบการเรียนการสอนที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งในปัจจุบันนิยมทำในรูปของเอกสารเว็บ Courseware ที่ดีจะต้องได้รับการออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นบทเรียน แต่ละบทเรียนจะมีการกำหนดแนวคิดและวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน มีการนำเสนอเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน แหล่งวิทยาการที่เกี่ยวข้อง (resources) โดยเน้นที่องค์ความรู้จากห้องสมุดเสมือนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งสามารถจะเข้าถึงได้ทันที มีการทดสอบเพื่อประเมินว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในระดับใด มีการออกแบบให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเนื้อหาวิชา ผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน โดยใช้การสื่อสารผ่านเครือข่าย นอกจากนั้นแล้วการออกแบบ Courseware ที่ดีนั้นต้องใช้ความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในสิ่งที่การนำเสนอในรูปแบบที่เอกสารสิ่งพิมพ์ทำไม่ได้หรือทำได้ยาก
ตัวอย่าง
·         Class notes, scanned images, syllabi, textbooks, tutorials และ assignments ของผู้สอนที่นำเสนอด้วยเทคโนโลยี Internet/WWW.
·         สื่อในรูปแบบปฎิสัมพันธ์ที่เผยแพร่ทั้งในลักษณะเชิงพาณิชย์ และให้บริการดาวน์โหลด
·         บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่พัฒนาด้วย Authoring Tools เช่น HyperCard, PowerPoint, Macromedia Director, Toolbox, หรือ Authorware
·         บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่นำเสนอทั้งในรูปแบบออฟไลน์ (Offline) และออนไลน์ (Online) ด้วยผ่านกระบวนการบีบอัด (Compress) หรือการกระจายให้เป็นแฟ้มขนาดเล็กหลายแฟ้ม ด้วยโปรแกรมเฉพาะที่แต่ละบริษัทพัฒนา เพื่อให้สามารถแสดงผลผ่านเว็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องรอการส่งแฟ้มเป็นเวลานาน
·         หนังสือ/วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีลักษณะเป็นรูปเล่มและองค์ประกอบของเล่มหนังสืออย่างครบถ้วน นิยมจัดทำในฟอร์แมต Acrobat ด้วย Acrobat Writer และใช้โปรแกรม Acrobat Reader ในการอ่าน
·         เทปเสียงดิจิตอล/วีดิทัศน์ดิจิตอล ที่ใช้เทคโนโลยี Real/Audio หรืออื่นๆ ที่เหมาะสม ที่สามารถแสดงผลได้ด้วยเทคนิคการกระจายแฟ้ม เพื่อไม่ต้องรอการถ่ายโอนแฟ้มนาน

E-Learning Courseware
Multimedia
Hypermedia
Hypertext

Knowledge Types
-Factual Knowledge – รู้เรื่องจริง
-Conceptual Knowledge – สามารถคิด ทำได้ เพราะรู้มาแล้ว
-Procedural Knowledge -- ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นตอนในการทำงานของงานหนึ่งๆ
-Metacognitive Knowledge – ตระหนักรู้ว่ารุ้อะไร

Learning Object
Learning Object คือสื่อการเรียนรู้ดิจิตอล ที่ออกแบบเพื่อ ให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ โดยแต่ละเรื่อง จะนำเสนอแนวคิดหลักย่อยๆ ผู้สอนสามารถเลือกใช้ Learning Object ผสมผสานกับการจัดการเรียนการสอนแบบอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย

 มาตรฐาน SCORM ในอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning)
SCORM ย่อมาจาก Sharable Content Object Reference Model ซึ่งพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา (Department of Defense: DOD) และ White House Office of Science and Technology Policy (OSTP) โดยตั้งสถาบัน Advanced Distributed Learning: ADL ขึ้น ในปี 1997
                ข้อกำหนด มาตรฐาน SCORM ของ e-Learning มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
                1. มาตรฐาน SCORM ด้าน Content Package มาตรฐานนี้กำหนดให้รวมข้อมูลหรือ การ Package ข้อมูล อาทิ text, image, multimedia เข้าเป็นก้อน หรือเป็น unit เดียวกัน ซึ่งในมาตรฐานนี้จะช่วยปกป้องความถูกต้องของข้อมูล รักษาสิทธิส่วนบุคคล ปกป้องการเข้าใช้ข้อมูลจากผู้ไม่มีสิทธิ รวมถึงป้องกันการดัดแปลงและคัดลอกข้อมูลได้อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ เพราะข้อมูลนี้ถูกรวมไว้เป็นก้อนเดียวกัน
                2. มาตรฐาน SCORM ด้าน API (Application Program Interface) มาตรฐานนี้จะหมายถึงข้อกำหนดต่าง ๆ ของข้อมูล หลักสูตรต้องเหมือนกัน เพื่อให้ข้อมูลบทเรียนมีการส่งและการเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วและได้ง่ายเหมือนกัน
มาตรฐาน SCORM นั้นให้ความสำคัญกับการช่วยทำให้ระบบ plug and play ของเนื้อหา การเรียนรู้บนเว็บ (Web-based learning) สามารถใช้งานร่วมกันได้ ความสะดวกในการเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้ใหม่อีก จากการตั้งอยู่บนฐานของมาตรฐานเทคโนโลยีเป็นที่ยอมรับ ได้แก่ XML และ JavaScript ทำให้ SCORM กลายเป็นมาตรฐานเทคโนโลยีอีเลิร์นนิ่งที่ได้รับการยอมรับและถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายและรวดเร็ว อีกทั้งการได้รับการตอบรับ และสนับสนุนจากบริษัทชั้นนำของโลก มหาวิทยาลัยต่าง ๆ กลุ่มผู้ให้บริการระบบ และกลุ่มผู้ให้บริการเนื้อหา จากประโยชน์ของ SCORM นับว่ามาตรฐานอีเลิร์นนิ่งมีความจำเป็น และเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน เนื่องจากทำให้การใช้เทคโนโลยีมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดอัตราเสี่ยงในการลงทุน และยังทำให้ผู้เรียนมีความสะดวกสบายขึ้น ข้อกำหนด SCORM จึงถือเป็นมาตรฐานทางอีเลิร์นนิ่งที่นำมาใช้แพร่หลายที่สุดในปัจจุบัน

Meta data
Meta data  หมายถึง ข้อมูลที่ใช้กำกับและอภิบายข้อมูลหลักหรือกลุ่มของข้อมูลอื่น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ บัตรในห้องสมุดสำหรับสืบค้นหนังสือ โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชื่อหนังสือและตำแหน่งของหนังสือที่ต้องการหา ซึ่งหนังสือเป็นข้อมูลที่ต้องการ และบัตรเป็นข้อมูลที่อธิบายรายละเอียดของข้อมูลนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น